กฎหมายอาญา
กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่รวมเอาลักษณะความผิดต่าง ๆ และกำหนดบทลงโทษซึ่งบัญญัติขึ้น โดยมีจุดประสงค์ที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม การกระทำที่มีผลกระทบกระเทือนต่อสังคมหรือคนส่วนใหญ่ของประเทศ โดยถือว่าเป็นความผิดทางอาญา หากปล่อยให้มีการดำเนินการเอง หรือปล่อยให้มีผู้กระทำผิดแล้วไม่มีการลงโทษ จะทำให้มีการกระทำความผิดทางอาญามากขึ้น สังคมก็จะวุ่นวายขาดความสงบสุข
การถูกลงโทษจากการกระทำความผิดทางอาญานั้น นอกจากจะต้องเป็นการกระทำที่มีกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดแล้ว
ผู้กระทำยังต้องทำไปโดยเจตนาด้วย ยกเว้นการกระทำบางชนิดที่มีกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า แม้กระทำโดยไม่เจตนา หรือกระทำโดยประมาทก็ต้องรับผิด
ผู้กระทำยังต้องทำไปโดยเจตนาด้วย ยกเว้นการกระทำบางชนิดที่มีกฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า แม้กระทำโดยไม่เจตนา หรือกระทำโดยประมาทก็ต้องรับผิด
ความผิดทางอาญา แบ่งเป็น
ความผิดยอมความไม่ได้ หรือความผิดต่อแผ่นดิน เป็นคดีอุกฉกรรจ์ ถ้าเจ้าทุกข์ไม่เอาเรือง ตำรวจหรือแผ่นดินก็ต้องเอาเรื่องผู้กระทำผิด เช่น ฆ่าคนตาย หลบหนีทหาร เป็นต้น
ความผิดยอมความได้ (ไม่เป็นความผิดหากเจ้าทุกข์ไม่เอาเรื่อง) เช่น หมิ่นประมาท ลูกขโมยของพ่อแม่ เป็นต้น
ความผิดลหุโทษ เป็นความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ จัดเป็นความผิดยอมความไม่ได้ เช่น โชว์อนาจารในที่สาธารณะ เป็นต้น
โทษ (สภาพบังคับ) ทางอาญา
โทษทางอาญา คือ สภาพบังคับของกฎหมายอาญาเมื่อมีการฝ่าฝืนกฎหมายกำหนดประเภทของโทษไว้ 5 ประการ ได้แก่
1. ประหารชีวิต คือ ปัจจุบันใช้วิธีการฉีดสารพิษเข้าสู่ร่างกายนักโทษ
2. จำคุก คือ การนำตัวไปขังในเรือนจำตามที่กำหนดเวลาที่ศาลพิพากษา
3. กักขัง คือ การนำตัวไปกักขังหรือควบคุมไว้ ณ ที่อื่นที่มิใช่เรือนจำ เช่น สถานีตำรวจ เป็นต้น
4. ปรับ คือ การให้ผู้กระทำผิดจ่ายเงินให้แก่รัฐตามจำนวนคำพิพากษากำหนด ภายใน 30 วัน นับแต่วันพิพากษา
5. ริบทรัพย์สิน คือ การริบเอาทรัพย์สินนั้นมาเป็นของรัฐ เช่น ปืนเถื่อน ไม้เถื่อน เหล้าเถื่อน ยาบ้า เป็นต้น
การรับโทษ
- ไม่ผิดและไม่ต้องรับโทษ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
- ผิด แต่ไม่ต้องรับโทษ เช่น เด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบทำผิด หรือกระทำเพราะจำเป็นเพื่อป้องกันตัว
- ผิด แต่ได้รับการลดโทษ เช่น ทำผิดเพราะบันดาลโทสะ
ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์
- ลักทรัพย์ คือ การขโมยสิ่งของผู้อื่น เช่น นาย ก ขโมยสร้อยทอง นาง ข
- วิ่งราวทรัพย์ คือ ฉกฉวยเอาซึ่งหน้า เช่น กระชากสร้อยคอ กระชากกรเป๋า
- ชิงทรัพย์ คือ ขโมยของโดยใช้กำลังทำร้าย ข่มขู่ในทันที หรือใช้อาวุธ เช่น เอามีดจี้
- ปล้นทรัพย์ คือ ร่วมกันขโมยของผู้อื่นโดยมีตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
- รีดเอาทรัพย์ คือ ขู่ว่าจะนำความลับมาเปิดเผยถ้าไม่ให้ทรัพย์ หรือ การแบล็คเมล์
- ฉ้อโกงทรัพย์ คือ หลอกลวงให้เชื่อ เพื่อที่จะได้มอบทรัพย์ให้
- ยักยอกทรัพย์ คือ การกระทำที่ให้ได้ทรัพย์ผู้อื่นมาครอบครองไว้แล้วเบียดเบียนเอาทรัพย์นั้นมาเป็นของตน
- กรรโชกทรัพย์ คือ ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย เสรีภาพ ชื่อเสียง ทรัพย์สิน เพื่อให้ได้ทรัพย์มา
วิเคราะห์ข้อสอบโอเน็ต
ตัวอย่าง ข้อสอบ O-Net ปี 2560
เลือกตำตอบที่ถูกต้อง 2 ตัวเลือก
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 บัญญัติว่า “ผู้ใดลักทรัพย์โดยฉกฉวยเอาซึ่งหน้าผู้นั้นกระทำความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท” ข้อใดต่อไปนี้เป็นความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์
1. นายเอก หยิบโทรศัพท์มือถือซึ่งวางอยู่ข้างตัวนายบี ขณะที่นายบีนั่งคุยกับเพื่อนอยู่ไม่ทันรู้ตัว
2. นายโหด หยิบคอมพิวเตอร์ของนางสาวหงส์ไป โดยนางสาวหงส์ไม่ยินยอมแต่ไม่กล้าร้องให้คนช่วยเพราะนั่งอยู่คนเดียว แล้วนายโหดค่อย ๆ เดินจากไป
3. นายโฉด ล้วงกระเป๋านางสาวสมศรีขณะนั่งหลับบนรถเมล์ ได้นาฬิกาข้อมือไป
4. นางพลอย ถอดสร้อยคอ ด.ญ. แพรว ขณะที่ง่วงนอนอยู่ไม่ทันระวังตัว
5. นายขัน กระตุกสร้อยคอของนางสาวโอ่ง ขณะยืนอยู่ด้านหลังของนางสาวโอ่ง แล้ววิ่งหนีไป
วิเคราะห์ข้อสอบ
มาถึงเรื่องกฎหมายอาญาความผิดเกี่ยวกับทรัพย์นะคะ โจทย์ข้อนี้ถามเกี่ยวกับความผิดวิ่งราวทรัพย์ คำตอบข้อ 1,3,4 เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ คือการเอาของคนอื่นไปโดยไม่บอกไม่ขออนุญาต ส่วนคำตอบที่ถูกต้องของข้อนี้ คือ ข้อ 2 และ 5 เป็นความผิดวิ่งราวทรัพย์ค่ะ
ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย
1. ความผิดเกี่ยวกับชีวิต เป็นความผิดที่ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายไม่ว่าจะได้กระทำโดยเจตนาให้ตายหรือไม่ มีความผิดที่สำคัญได้แก่
1.1 ความผิดฐานฆ่าผู้อื่น เช่น การฆ่าคนตายไม่ว่าจะด้วยวิธีใด ๆ เจตนาหรือไม่ แม้แต่การกระทำโดยประมาท ย่อมเป็นความผิดทั้งสิ้น รวมทั้งเป็นการกระทำเพื่อป้องกันตัว ซึ่งจะต้องสืบพยานในชั้นศาล การฆ่าคนบางประเภทจะได้รับโทษหนักขึ้น เช่น ฆ่าพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เจ้าพนักงานหรือผู้ช่วยพนักงานตามกฎหมาย การฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หรือฆ่าเพื่อการกระทำผิดอย่างอื่น เช่น ฆ่าเพื่อชิงทรัพย์ ฆ่าเพื่อข่มขืน ฆ่าเพื่อปกปิดความลับ เป็นต้น
1.2 การช่วยยุยงให้ผู้อื่นหรือเด็กฆ่าตนเอง ถ้ามีการกระทำเกิดขึ้นก็มีความผิดเกี่ยวกับชีวิตเช่นเดียวกัน
2. ความผิดเกี่ยวกับร่างกาย คือ ทำร้ายผู้อื่นอันเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายและจิตใจ มี 4 ลักษณะ
2.1 ทำร้ายร่างกายโดยไม่มีอันตราย เช่น ผลักล้ม เป็นความผิดอาจเปรียบเทียบเป็นค่าปรับได้
2.2 ทำร้ายร่างกายโดยไม่มีอันตราย เช่น ใช้ไม้ตีศีรษะแตก
2.3 ทำร้ายร่างกายโดยได้รับอันตรายสาหัส เช่น เจตนาผลักผู้อื่นล้มจนเป็นอัมพาต เป็นความผิดอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้
2.4 ทำร้ายร่างกายจนถึงแก่ชีวิต เช่น ใช้ปืนยิงผู้อื่นเสียชีวิต มีความผิดฐานฆ่าคนตาย
3. ความผิดที่กระทำโดยประมาทต่อชีวิตและร่างกาย กฎหมายได้บัญญัติให้รับผิดในการกระทำโดยประมาท สามารถแยกได้ตามความหนักเบา คือ
3.1 การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เป็นการกระทำโดยผู้กระทำมิได้มีเจตนาฆ่าหรือเจตนาทำร้าย แต่การกระทำปราศจากความระมัดระวัง เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดและได้รับโทษ
3.2 การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส เช่น ทำให้ตาบอด หูหนวก ลิ้นขาด เสียอวัยวะสำคัญ ทุพลภาพหรือเจ็บป่วยเรื้อรังอาจถึงตลอดชีวิต
3.3 การกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ เช่น ตีศีรษะแตก กักขังไว้แล้วปล่อยเสียงรบกวนประสาทจนสติคลุ้มคลั่ง
กระบวนการยุติธรรมคดีอาญา
1. ตำรวจ หรือเจ้าพนักงานสอบสวน เจ้าพนักงานสืบสวน
2. เจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง ในกรณีที่ท้องที่นั้นไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สามารถแจ้งความกับเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือข้าราชการกระทรวงมหาดไทย เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
3. พนักงานอัยการ (ทนายแผ่นดิน) เป็นพนักงานผู้มีอำนาจฟ้องต่อศาล โดยจะตรวจสอบสำนวนการสอบสวนว่าสมควรส่งฟ้องหรือไม่
ขอบพระคุณที่มาภาพจาก : https://www.the101.world/restorative-justice-3/
ขอบพระคุณที่มาภาพจาก : https://www.youtube.com/watch?v=Jst0ilseZh0